รำวงแอโรบิคย้อนยุค

⚓...รำวงแอโรบิคย้อนยุค...

 👇ตามไปดูกัน

รำไทยกับแอโรบิคไปด้วยกันได้อย่างไร?


ที่มาและความสำคัญ

        เนื่องจากในปัจจุบันการออกกำลังกายกำลังมีความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้นการมีทางเลือกในการออกกำลังกายที่หลากหลายจึงเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของคนในยุคปัจจุบันได้ คณะผู้จัดทำจึงได้ร่วมกันออกแบบวิธีการออกกำลังกายที่แปลกใหม่ นั่นก็คือการนำท่ารำวงมาตรฐานมาผสมกับการเต้นแอโรบิก และใช้เพลงรำวงย้อนยุคเข้ามาประกอบ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ได้ส่วนและน่าสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งยังมีการวิจัยเกี่ยวกับการออกกำลังกายประเภทนี้ออกมาแล้ว ว่าช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้จริง สามารถเต้นได้ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุ

        ซึ่งในอนาคตประเทศไทยเราจะเข้าสู้สังคมวัยผู้สูงอายุ ดังนั้นการนำท่ารำวงมาตรฐานมาประยุกต์ในการออกกำลังกาย จะช่วยเพิ่มทางเลือกในการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุ เพิ่มความสนุกสนาน ทำให้การออกกำลังกายไม่นาเบื่อ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอีกด้วย


หลักการและขั้นตอนในการเต้นแอโรบิค




        การเต้นแอโรบิค ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนจำนวนมากและสม่ำเสมอ โดยการเต้นแอโรบิคจะเป็นการออกกำลังกายโดยใช้ท่ากายบริหาร การเต้นรำ การเคลื่อนไหวพื้นฐาน เช่น เดิน วิ่ง กระโดด มาผสมผสานเป็นท่าชุดเต้นไปตามจังหวะเพลง ซึ่งเพลงที่ใช้จะต้องมีจังหวะเร็วสนุก เช่น เพลงดิสโก้ เป็นต้น

        ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคมีหลายประการด้วยกัน คือ ช่วยสร้างความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้ร่างกายมีความอดทนมากขึ้น เหนื่อยช้าลง ทำให้รูปร่างและทรวดทรงดี สนุกสนานร่าเริง หายจากความตึงเครียด ช่วยสร้างความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ และยังทำให้ร่างกายมีความอ่อนตัวดีมากขึ้น


💜 ประเภทของการเต้นแอโรบิค 💜

1.แบ่งตามแรงกระแทก

- การเต้นแบบย่อยืดขา โดยไม่มีการยกหรือกระโดด เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพและผู้สูงอายุ

- การเต้นที่มักจะให้มีขาข้างหนึ่งติดพื้นเสมอซึ่งจะลดการกระแทก เน้นการใช้ร่างกายส่วนบนมากขึ้น เหมาะกับทุกเพศทุกวัย 

- การเต้นซึ่งมีการกระแทกของเท้าต่อพื้นอย่างรุนแรง ไม่เหมาะกับผู้ที่มีสมรรถภาพร่างกายไม่ดีพอ ปัจจุบันไม่นิยมเต้นกัน

- การเต้นที่ผสมระหว่างการเต้นแบบย่อยืดขาและการเต้นซึ่งมีการกระแทกของเท้าต่อพื้นอย่างแรง มีการวิ่งกระโดดขย่ม เหมาะสำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและวัยหนุ่มสาว


2.แบ่งตามลักษณะของผู้เต้น

- ผู้ที่ไม่เคยเต้นแอโรบิคมาก่อน การฝึกเป็นการฝึกเทคนิคการเคลื่อนไหวร่างกายพื้นฐาน มีการฝึกระบบประสาทและกล้ามเนื้อบ้าง เพลงช้าใช้เวลาประมาณ 30 นาที ความหนักของการเต้นประมาณ 60% ของชีพจรสูงสุด

- ทำการเปลี่ยนท่าทางต่างๆได้อย่างราบรื่นและซับซ้อนมากชึ้น เล่นนานขึ้น เร็วขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และออกกำลังกายเป็นประจำ ใช้เวลาประมาณ 45นาที ความหนักของการเต้น 70 % ของชีพจรสูงสุด

- ขั้นผู้มีความชำนาญและมีประสบการณ์ มีความยากและซับซ้อน ใช้เวลาในการเล่นครั้งละ 45-60 นาที ความหนักของการเต้นประมาณ 80-90% ของชีพจรสูงสุด


การเต้นแอโรบิคแบบอื่นๆ

- การเต้นแอโรบิคโดยมือถือแฮนด์เวท เพื่อสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนบน

- การเต้นแอโรบิคโดยมือถือ Xer-Tube ขณะเต้นใช้มือจับปลาย 2 ข้าง ใช้เท้ากดลงตรงกลางเพื่อสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนบน

- การเต้นแอโรบิคด้วยการก้าวขึ้นลงบนแท่นที่เหมาะสมไปพร้อมกับเสียงดนตรีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจ เหมาะสำหรับผู้ออกกำลังกายทุกเพศทุกวัย

- การเต้นแอโรบิคโดยการนำการเดิน การวิ่ง กระโดด ทวิชและการเตะเท้าในน้ำมาประกอบกับเสียงดนตรี เรียกว่า Aquarobics ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต


ขั้นตอนการฝึกเต้นแอโรบิค

มี 3 ช่วง ได้แก่

1.ช่วงเตรียมความพร้อม  (warm up)
ประกอบด้วย การบริหารข้อต่อสัดส่วนต่างๆของร่างกายและการยืดกล้ามเนื้อ ในช่วงนี้ควรจะมีชีพจรเต้นอยู่ระหว่าง 100 ครั้งต่อนาที ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที


2.ช่วงแอโรบิค  (exercise)
จำเป็นต้องแบ่งความหนักเบาของกิจกรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของผู้เข้าร่วมจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ชีพจรขณะเต้น ประมาณ 60-80% ของชีพจรสูงสุดและจะต้องคำนึงถึงลักษณะและชนิดของการเคลื่อนไหวเป็นหลัก คือให้ทุกส่วนของร่างกายได้เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง


3.ช่วงผ่อนคลายกล้ามเนื้อ  (cool down)
เป็นการบริหารกายเฉพาะส่วนและเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โดยเน้นที่การยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างช้าๆ เพื่อเข้าสู่ภาวะปกติ การผ่อนคลายจะหยุดค้างในท่านั้นๆประมาณ   5-20 วินาที ส่วนชีพจรควรต่ำกว่า 100 ครั้งต่อนาที


ท่าแอโรบิคพื้นฐาน



🏃🏃🏃🏃




รำวงมาตรฐาน


        เป็นการแสดงที่มีวิวัฒนาการมาจาก รำโทน เป็นการรำและร้องของชาวบ้าน ซึ่งจะมีผู้รำทั้งชายและหญิง รำกันเป็นคู่ๆ รอบครกตำข้าวที่วางคว่ำไว้ หรือไม่ก็รำกันเป็นวงกลม โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ลักษณะการรำและร้อง เป็นไปตามความถนัด ไม่มีแบบแผนที่กำหนดไว้ คงเป็นการรำและร้องง่ายๆ มุ่งเน้นที่ความสนุกสนานรื่นเริงเป็นสำคัญ เช่น เพลงช่อมาลี เพลงยวนยาเหล เพลงหล่อจริงนะดารา เพลงตามองตา เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด ฯลฯ ด้วยเหตุที่การรำชนิดนี้มีโทนเป็นเครื่องประกอบจังหวะ จึงเรียกการแสดงชุดนี้ว่า รำโทน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2487 ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการละเล่นรื่นเริงประจำชาติ และเห็นว่าคนไทยนิยมเล่นรำโทนกันอย่างแพร่หลาย ถ้าปรับปรุงการเล่นรำโทนให้เป็นระเบียบ ทั้งเพลงร้อง ลีลาท่ารำ และการแต่งกาย จะทำให้การเล่นรำโทนเป็นที่น่านิยมมากยิ่งขึ้น จึงได้มอบหมายให้กรมศิลปากรปรับปรุงรำโทนเสียใหม่ให้เป็นมาตรฐาน มีการแต่งเนื้อร้อง ทำนองเพลง และนำท่ารำจากแม่บทมากำหนดเป็นท่ารำเฉพาะแต่ละเพลงอย่างเป็นแบบแผน  


💃 ตัวอย่างท่ารำวงมาตรฐาน 💃

ท่า 1 “สอดสร้อยมาลา” ในบท “งามแสงเดือน



ท่า 2 “ชักแป้งผัดหน้า” ในบท “ชาวไทย



ท่า 3 “รำส่าย” ในบท “รำมาซิมารำ


ท่า 4 “สอดสร้อยมาลาแปลง” ในบท “คืนเดือนหงาย


ท่า 5 “แขกเต้าเข้ารัง” ในบท “ดวงจันทร์วันเพ็ญ


 ท่า 6 “ผาลาเพียงไหล่” ในบท “ดวงจันทร์วันเพ็ญ


ท่า 7 “รำยั่ว” ในบท “ดอกไม้ของชาติ


ท่า 8 “พรหมสี่หน้า” ในบท “หญิงไทยใจงาม


ท่า 9 “ยูงฟ้อนหาง” ในบท “หญิงไทยใจงาม


ท่า 10 “ช้างประสานงา” ในบท “ดวงจันทร์ขวัญฟ้า


ท่า 11 “จันทร์ทรงกลดแปลง” ในบท “ดวงจันทร์ขวัญฟ้า


ท่า 12 และท่า 13  ในบท “ยอดชายใจหาญ”

 ท่าหญิง “ชะนีร่ายไม้”  ท่าชาย “จ่อเพลิงกาฬ



ท่า 14 และท่า 15  ในบท “บูชานักรบ”

 ท่าหญิง “ขัดจางนาง”  ท่าชาย “จันทร์ทรงกลด



ท่า 16 และท่า 17  ในบท “บูชานักรบ”

 ท่าหญิง “ล่อแก้ว”  ท่าชาย “ขอแก้ว





✨✨✨✨




รำวงย้อนยุค




        รำวงย้อนยุค หรือรำวงพื้นบ้าน คือ รำโทนในภาคกลาง ซึ่งชาวจันทบุรีเรียกกันทั่วไปในอดึตว่า รำวงเขี่ยไต้ เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวบ้าน เมื่อประมาณ 50-60 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นการบันเทิงในขณะนวดข้าว สลับกับการร้องเพลงหงส์ฟาง โดยใช้เครื่องดนตรีเป็นอุปกรณ์ที่หาได้ในขณะนั้นเป็นเครื่องกำหนดจังหวะ เช่น ใช้เคาะไม้ เคาะปี๊ป
        ต่อมาใช้เป็นศิลปะในการหาเลี้ยงชีพ คือรับจ้างแสดงตามงานต่างๆ หรือมักเล่นกันในฤดูแล้ง มักจัดขึ้นในงานวัด เช่น งานวันวิสาขบูชา งานประจำปี งานบวช เป็นต้น




        เพลงรำวง เป็นเพลงที่ชาวบ้านแต่งขึ้น มีทำนองและภาษาที่ง่ายๆ เนื้อเพลงสั้นและใช้ธรรมชาติรอบตัวมาแต่งเป็นเพลง ดังตัวอย่างเพลงรำวงที่ร้องกันในแถบหมู่บ้านตะปอนใหญ่ ตำบลเกวียนหัก จังหวัดจันทบุรี
        เดิมรำวงพื้นบ้านจะมีเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียว คือ กลองทัด ชาวบ้านเกวียนหักเรียกว่ากลองเพล (กลอง - เพน) ใช้ตีกำกับจังหวะ ซึ่งมีอยู่จังหวะเดียว คือ แต็ก ตุง ตุง แต็ก ตุง ตุง ถ้าต้องการให้ร้องเป็นทำนองเร็วขึ้น ก็ตีกลองให้จังหวะกระชั้นขึ้น คนที่ร้องเพลงรำวง เรียกว่า กองเชียร์ เพราะนอกจากร้องเพลงให้นางรำและคนรำได้แสดงท่าทางรำวงกันสนุกสนานแล้ว เมื่อหมดรอบ ก็จะร้องเชื้อเชิญให้หนุ่มๆ นักรำทั้งหลายซื้อตั๋วเข้ามาโค้งนางรำ เป็นเช่นนี้จนกว่ารำวงจะเลิก


กลองทัด


ตัวอย่าง เพลงรำวงพื้นบ้าน 



ข้อดีของการออกกำลังกายด้วยรำวงย้อนยุค

1. เกิดความสนุกสนานที่ได้เต้นได้โยกตามจังหวะเสียงเพลง

2. ช่วยคลายเหงาและลดความว้าเหว่ได้

3.ช่วยให้ผู้สูงอายุในต่างจังหวัดได้ออกกำลังกายมากขึ้น

4. ช่วยเรื่องการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ และได้บริหารข้อต่อและกล้ามเนื้อ การได้ยกแขน ถือเป็นการบริหารร่างกายทุกส่วน

5. เป็นความสุขใจและเป็นความอบอุ่น ทำให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจมากขึ้น


ข้อเสียของการออกกำลังกายด้วยรำวงย้อนยุค

1. อาจทำให้รู้สึกเบื่อง่าย จึงไม่ควรเต้นนานเกิน 30 นาที 

2. ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมต่างๆ เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่าย



💃💃💃💃


ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก :

ความคิดเห็น